อาคารพานิชย์สามชั้น 3 คูหา
จากกระแส Modernที่รุนแรง ส่งผลให้รูปร่างหน้าตาของอาคารพานิช์ดูแปลกๆไปจากเดิม ที่ค่อนข้างจะคงที่มาช้านานในรูปแบบ Comtempolary และสไตล์ไทยประยุกต์ ทั้งๆที่รากเหง้าดั้งเดิมของอาคารพานิชย์นั้นมาจากแผ่นดินจีนที่แผ่ออกมาตามเส้นทางการค้าขายที่ติดต่อระหว่างกันในสมัยโบราญ ด้วยเจตนารมย์ในประโยชน์ใช้สอยที่ตรงไปตรงมา ของ”ห้องแถว-ตึกแถว” ก็คือการใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างพื้นที่ค้าขาย พื้นที่กักเก็บสินค้า และส่วนที่อยู่อาศัย จ ะเห็นได้ว่าแต่เดิมเรามักจะมีชั้นลอย คั่นกลางระหว่างชั้นล่างกับชั้นสองที่สูงลิบลิ่ว เพื่อประโยชน์ในการกองเก็บสินค้าที่มากหลาย เพื่อเป็นส่วงนของชานพักบันไดที่พาดยาวช่วงเดียว ก็เลยใช้พื้นที่ส่วนเพิ่มเป็นที่เก็บของ หรือ ที่ทำงานไปในตัว แต่ในปัจจุบันส่วนนี้ของตึกแถวหายไป มักจะไม่ค่อยมีให้เห็นในอาคารพานิชย์อีกต่อไป เรามักจะทำเป็นสอง-สามชั้นเต็ม โดยไม่มีชั้นลอย และการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ค้าขายในเมืองใหญ่ๆก็มักจะใช้ทั้งชั้นล่างและชั้นสอง เพราะว่าตึกแถวเปลี่ยนหน้าที่จากห้องแถวสำหรับค้าขายกลายมาเป็นร้านค้า ร้านอาหาร สถาณบริการ สำนักงานเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่ยังเป็นร้านค้าขายก็จำทำส่วนกักเก็บสินค้าไว้แยกออกไป แต่สิ่งที่ยังคงอยู่คู่ตึกแถวก็คือส่วนพักอาศัยในชั้นบนๆขึ้นไป โดยทั่วๆไปมักจะสร้างกันไม่เกินสามชั้น นอกจากในกรณีที่ราคาที่ดินสูงมาก หรือเป็นทำเลทองที่จำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากที่ดินให้คุ้มค่า จะสังเกตุได้ว่ารูปร่างหน้าตาของตึกแถว หรือที่เรียกขานใหม่ว่า”อาคารพานิชย์”นั้น มักจะมองเห็นได้อย่างชัดเจนถึงพื้นที่ใช้สอยในชั้นล่าง-ชั้นสอง เพื่อธุรกิจการค้า และ พื้นที่ชั้นสาม เป็นที่อยู่อาศัย การใช้องค์ประกอบของอาคารก็เปลี่ยนไป จากหลังคาบนสุดลาดลงมาแล้วมีมุขระเบียงยื่นออกมา หรือว่ามีระเบียงเป็นแถวยาวตลอดชั้นสาม ก็เปลี่ยนไป เพราะระเบียงชั้นสองเริ่มไม่ได้ใช้ประโยชน์ นอกจากเอาไว้ติดตั้งป้ายร้านค้า หรือป้ายโฆษณา พื้นที่ชั้นสามก็ต้องการห้องที่กว้างมากขึ้นเลยมาแบ่งเอาพื้นที่ระเบเยงออกไปเสียบางส่วน สำหรั บมุขจั่ว หรือ มุขเสาระเบียง นั้นแทบจะสาบสูญ หลังคาก็มักจะไม่ให้ความสำคัญในการโชว์วัสดุมุมหลังคา ใช้วัสดุที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่มีรอยต่อ ทนทาน ไม่มีปัญหาในการรั่ว-ซึม หรือเปลี่ยนซ่อมวัสดุมุมหลังคา ทั้งๆที่ปัญหาเหล่านี้มีอยู่คู่กับตึกแถวมานมนาน ส่วนในด้านการออกแบบด้านหน้าอาคารนั้น มักจะใช้เส้นสายที่เรียบง่ายดูเป็นแท่งๆตรงไปตรงมา ลวดลายอันวิจิตรอ่อนช้อยหายไปอย่างหมดสิ้น หันมาเน้นที่การใช้วัสดุตกแต่งผิว และ สีสรร ทดแทนเพื่อสร้างมิติแห่งความงาม ใน อาคารพานิชย์
อาคารพานิชย์ (ซึ่งเรียกแล้วดูดีกว่าตึกแถว) จึงเป็นส่วนหนึ่งที่มองเห็นได้ชัดในกระแสความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบทางสถาปัตยกรรมในยุคสมัยนี้ ที่ไม่อาจจะแน่ใจได้ว่าจะเป็นไปได้นานมากน้อยเพียงได หรือเพียงแค่วูบวาบตามกระแสความนิยม เพราะว่าอันที่จริงแล้ว รูปแบบอาคารในสไตล์โมเดริน นั้นพยายามจะเกิดตั้งหลายครั้งแล้ว แต่ก็ไม่อาจจะตอบโจทย์ในเรื่องของสภาพแวดล้อม ดินฟ้าอากาศในบ้านเมืองเราได้ซักเท่าไร หรืออาจจะต้องให้ระยะเวลาพิสูจน์ถึงสรรพสิ่งที่กำลังเปลี่ยนไป
อาคารพานิชย์หลังนี้เป็นโครงการต่องเนื่องจากชุดแรก 9 คูหา ที่มาเร็วและมาแรงสร้าง-ขายเสร็จภายใยปีเดียว เปิดโครงการ 2 ในรูปแบบใกล้เคียงกัน แต่แตกต่างในรูปแปลงที่ดิน จำเป็นต้องแก้ไขให้ยักเยื้องกันออกมาทีล๕(อาคารพานิชย์สามชั้น 7 ห้อง) ก็ได้เปิดขายมียอดจอกไปแล้วกว่า 705 ส่วนโครงการนี้เป็นงานต่อเนื่องบนทำเลที่ใกล้เคียงกัน แต่ต้นทุนที่ดินสูงลิบ ก็เลยเป็นการควบเอาข้อดีของโครงการ1-2 มารวมกันไว้เป็นบทสรุปของรูปแบบอาคารพานิชย์ ในกระแสโมเดริน ที่ยังหนีไม่ออกจากรูปแบบร่วมสมัย พื้นที่อาคารรวมประมาณ 160 ตร.ม / คูหา ค่าก่อสร้างปัจจุบัน(ธค.53) น่าจะอยู่ที่ 5,000-6,000 บาท/ตร.ม