บ้านดิน (บ้านรักษ์โลก เพื่อชีวิตธรรมชาติ ราคาติดดิน ) Adobe HouseCR
นับได้ว่าเป็นงานที่แปลกใหม่ในการออกแบบ ( แต่ก็ได้ยินรับรู้เรื่องราวมานานมาก) ที่ได้รับงานออกแบบโครงการที่ต้องการทำบ้านพักผ่อนสำหรับผู้ที่เกษียรอายุจากต่างประเทศ มาหาที่พักพิงอย่างสงบสุขในประเทศไทย โดยทางโครงการได้จัดหาพื้นที่ที่มีทำเลที่เหมาะสม ไม่ไกลจากตัวเมือง สิ่งอำนวยความสะดวก และ สถาณพยาบบาล รวมทั้งสาธารณูปโภคจากธรรมชาติ ทั้งทุ่งนา ป่า เขา น้ำตก และ แหล่งน้ำพุร้อน จุดประสงค์หลักของโครงการก็คือให้ชาวต่างชาติได้มีที่พักอาศัยท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ดี มีธรรมชาติที่สมบูรณ์ ได้สัมผัสกับวิถีชีวิตแบบธรรมชาติ สามารถอยู่อาศัย ใช้ชีวิตที่สงบสุขเรียบง่าย และ ที่สำคัญที่สุดก็คือไม่ใช้ทรัพยากรทางด้านกำลังทรัพย์ที่สูงมากเกินไป
แนวทางของโครงการ ก็คือ วางผังแบ่งแปลงที่ดินแปลงละไม่มากนักพอดูแลเองได้โดยไม่ต้องจ้างคนสวน มีพื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภค มีพื้นที่บางส่วนเอาไว้พักผ่อนออกกำลัง เป็นชุมชนเล็กๆที่สงบสุข ดังนั้นก็เลยต้องมาดูกันที่ต้นทุนของการพัฒนาโครงการ เรื่องที่ดินมันก็เป็นไปตามกลไกของตลาด แต่เรื่องการก่อสร้างนี่ จะทำอย่างไรให้ต้นทุนไม่สูงจนเกินไป แต่ก็ไม่ใช่ประหยัดจนไม่เกิดความสะดวกปลอดภัยในการอยู่อาศัย และ ความคุ้มค่าในระยะยาว ว่ากันว่า(เขา) ค่าก่อสร้างบ้านดินถูกกว่าค่าก่อสร้างบ้านในรูปแบบปกติ มาก เพียงแค่ 40% ของค่าก่อสร้างปัจจุบัน อายุการใช้งานของบ้านดิน ถ้าทำกันอย่างใกล้เคียงมาตรฐาน ว่ากันว่าบางที่สามารถอยู่ได้เป็นหลายร้อยปี(จากหลังกฐานทางประวัติศาสตร์) เท่าที่ศึกษาข้อมูลจากที่ทำกันในประเทศไทยเรามีมากกว่า10 ปีแล้ว โดยเฉลี่ยสามารถใช้งานได้ 3- 5 ปีโดยไม่ต้องซ่อมแซมปรับปรุง ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้องค์ประกอบเสริม เช่น หลังคา และ การฉาบฝาผนังเท่านั้นที่อาจจะต้องปรับปรุงซ่อมแซมกันบ้าน ดูจากพื้นฐานระบบ และ วิธีการก่อสร้างของบ้านดินแล้ว มันก็น่าจะเป็นไปในทำนองเดียวกันกับ ระบบโครงสร้างที่เรียกว่ากำแพงรับน้ำหนัก( Wall Baring ) ที่ทำกันมานรามมากแล้วในแถบประเทศที่ภูมิอากาศเหมาะสม ไม่มีความแตกต่างกันมากนักระหว่างฤดูกาล เมื่อนำมาประยุกต์เข้ากับพื้นที่มนประเทศไทยเราที่มีฤดูกาลต่างกันมาก ความสามารถในการรับน้ำหนักของดินที่แตกต่างกัน ก็เลยต้องมาดูเรื่องระบบฐานรากประกอบเข้ามาด้วย โดยหลักก็คือ บ้านดินเป็นบ้านที่กำหนดให้ผนังที่ก่อด้วยวัสดุที่ทำจากดินทำหน้าที่รับน้ำหนักจากหลังคาโดยตรง แต่ก็สามารถประยุกต์ใช้ระบบเสา-คานมาช่วยได้ เพียงแต่ว่าโดยรวมแล้วกว่า 80% ของมวลวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างต้องทำมาจากดิน จึงจะเรียกได้ว่าเป็นบ้านดิน จะแบ่งเป็นหลายๆรูปแบบ และ ระบบวิธีการ ที่นิยมใช้กันอยู่ก็คือ ผนังที่ทำจากดินที่บรรจุในกระสอบฟาง ผนังที่ทำจากอิฐดินที่ตากแห้ง (โดยมีส่วนผสมจากธรรมชาตในการยึดเหนี่ยว) และ ผนังที่ทำจากดินที่ประสานบนโครงไม่ว่าจะเป็นกิ่งไม้ หนือ โครงตาข่ายรวมทั้งยังใช้ทำเป็นหลังคาได้อีกด้วย ส่วนวัสดุประกอบที่เหลือ เช่นประตู-หน้าต่าง โครงหลังคา แผ่นมุมหลังคา ก็ควรเป็นวัสดุที่ได้จากธรรมชาติ และ เน้นที่เป็นการรบกวนธรรมชาติให้น้อยที่สุด เช่นการระเบิดหินจากภูเขา การดูทรายจากแม่น้ำ หรือ การถลุงเหล็ก
“บ้านดิน” จะมีข้อจำกัดที่แตกต่างจากบ้านปกติ ก็คือ การออแบบรูปทรงของตัวบ้าน จะต้องมีความประสานกันในการถ่ายน้ำหนักจากหลังคา การเจาะช่องแสง-ประตูหน้าต่าง จะต้องไม่เกิน1 ใน 3 ส่วนของผนังแต่ละช่วง และ ที่สำคัญการเลือกใช้วัสดุประกอบจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการขยาย-หดตัวของดิน หรือ มีก็ไม่มากนัก และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งผ่านความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน เพราะว่าบ้านดินได้รับการรับรองในเรื่องของการลดความร้นจากภายนอกเข้าสู่ตัวบ้านได้สูงสุด การตกแต่งผิวทั้งภายในภายนอกนั้นสามารถประยุกต์ใช้วัสดุได้หลากหลาย แต่ควรจะเน้นย้ำในสิ่งที่มาจากธรรมขาติให้มากที่สุด สามารถตกแต่งผิวพื้นด้วยกระเบื้องดินเผา หรือ เซรามิคได้ ถ้าหากไม่มั้นใจในคุณภาพวัสด ในปัจจุบันได้เกิดธุรกิจในการจำหน่ายวัสดุและ อุกรณ์สำหรับการก่อสร้าง รวมทั้งตกแต่งบ้านดินขึ้นแล้วมากมาย รวมทั้งมีบริการรับเหมาสร้างบ้านดินอีกด้วย โดยสรุปบ้านดินจะมีข้อจำกัดที่สร้างได้เพียงแค่ชั้นเดียว ถ้าจะสร้างมากว่านี้อาจจะต้องใช้ระบบโครงสร้างมาผสมผสานจะเป็นไม้ หรือคอนกรีต ก็แล้วแต่สะดวก ขนาดพื้นที่ก็ไม่ควรจะใหญ่โกว้างขวางมากนัก เผื่อการขยาย-หด ตัว และ ที่สำคัญสภาพแวดล้อมควรจะแห้งไม่มีความชื้นมากนัก หรือ มีโอกาสประสบกับภัยทางธรรมชาติที่รุนแรงทั้งน้ำ และ ลม
โดยสรุปในเรื่องต้นทุนราคาค่าก่อสร้างของบ้านดิน จะเป็นเพียงแค่ 40% เมื่อเทียบกับการก่อสร้างปกติ เทียบง่ายๆ ก็คือปัจจุบันค่าก่อสร้างบ้านเฉลี่ยประมาณตารางเมตรละ 9,000 บาท บ้านดินจะใช้งบก่อสร้างเพียง 3,600 บาท/ตารางเมตร อันนี้เทียบได้ว่าระดับดีมากเลย เพราะว่าค่าก่อสร้างบ้านดินนั้นโดยเฉลี่ยเริ่มต้นที่ประมาณ 1,200 บาท (ออกแรง ลงแขกช่วยกันสร้าง หรือ สร้างกันเองในหมู่ญาติพี่น้อง) ไปจนถึงที่ 3,600 บาท/ตารางเมตร ( อันนี้จ้างเหมาผู้ให้บริการสร้างบ้านดิน) ส่วนประกอบปลีกย่อยที่จะมีผลต่อราคาค่าก่อสร้างก็คือการตกแต่งผิว การใช้วัสดุมุงหลังคา ระบบน้ำ-ไฟฟ้า ที่คาดว่าจะเอาแบบสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน ยกตัวอย่างจากโครงการทีได้ออกแบบ แบ่งเป็น 3 ประเภท เพื่อการอยู่อาศัยที่ประหยัด เรียง่าย คือ
Type- A มี 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ พื้นที่ 125 ตร.ม (บ้านปูน 1.125 ล้าน : บ้านดิน .375 ล้าน )
Type-B มี 2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ พื้นที่ 88 ตร.ม (บ้านปูน .792 ล้าน : บ้านดิน .264 ล้าน)
Type-C มี 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ พื้นที่ 54 ตร.ม (บ้านปูน .486 ล้าน : บ้านดิน .162 ล้าน )
ทั้ง 3 แบบมีพื้นที่ส่วนบริการครบถ้วนตั้งแต่โถงรับแขก ทานอาหาร เตรียมอาหาร ตู้เสื้อผ้า ตามสัดส่วน (บ้านปูนคิดที่ 9,000บาท/ตร.ม – บ้านดิน คิดที่ 3,000 บาท/ตร.ม )
ที่นี้มาดูในรายละเอียด ของ แบบ Type-C มี1 ห้องนอน พื้นที่ 54 ตร.ม ถ้าสร้างระบบก่อสร้างตามปกติ ปาเข้าไปเกือบ 5 แสน ถ้าเป็นบ้านดิน(แบบทำขาย) ก็ประมาณ เกือบ 2 แสน ถ้าสร้างเอาไว้อยู่เองแบบติดดิน ก็ประมาณ แสนต้นๆ ถ้าสร้างบริจาค หรือโครงการจิตอาสา ก็ไม่น่าจะถึงหลักแสน ครับ ถ้าอยากอยู่แบบติดดิน จะลองเปลี่ยนมาใช้ชีวิตในวิถีธรรมชาติ หรือสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แหล่งข้อมูลอ้างอิง www.baandin.org หรือที่www.earthen-abode.com ครับ : กันยายน 2555